การ บำรุงรักษาเลื่อยยนต์ ก่อนเริ่มใช้งาน
การ บำรุงรักษาเลื่อยยนต์ คือการรักษาสภาพหรือป้องกันไม่ให้เกิดการชํารุดเสียหาย โดยให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งเป็นการยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น วันนี้เพื่อนเกษตร ได้นำการบำรุงรักษาเลื่อยยนต์ แบบเบื้องต้นมาฝากกันครับ
“การบำรุงรักษาเลื่อยยนต์”
- หลังจากใช้งานแล้วควรทำความสะอาดใบเลื่อยทุกครั้งด้วยการปัดด้วยแปรงให้เศษขี้เลื่อยหลุดออกจากฟันเลื่อย ก่อนที่จะทาด้วยน้ำมันป้องกันสนิม
- ใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมอยู่เสมอ และควรเลือกใช้ตะไบที่มีขนาดเล็กที่พอดีกับฟันเลื่อย
- นำไปเก็บไว้ในที่มิดชิด ไม่ให้มีความชื้น เพื่อป้องกันการเกิดสนิม
วิธีดูแลรักษาบาร์หัวเฟือง แบบง่ายๆ
- เทน้ำมันก๊าด ลงไปในปลอกบาร์
- จุ่มหัวบาร์ลงไปทิ้งไว้ 1 คืน
เพียงเท่านี้บาร์ของเราก็กลับมาใหม่เอี่ยมพร้อมใช้งานเหมือนใหม่อีกครั้งและยังเป็นการยืดอายุการใช้งานอีกด้วย
การบำรุงรักษาเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรต่างๆไม่เว้นแต่เลื่อยยนต์ซึ่งต้องมีการบำรุงรักษาทุกครั้งหลังจากการใช้งานเพราะจะเป็นการยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น และอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้เลื่อยยนต์ของเรามีอายุการใช้งานที่ยาวนานก็คือการเลือกซื้อเลื่อยยนต์ที่มีคุณภาพเพราะจะทำให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน ซึ่งเจ้าตัว เลื่อยยนต์ นี้เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบภายในที่ทำงานเหมือนเครื่องยนต์รถทั่วไป มีการใช้คาร์บูเรเตอร์เพื่อจ่ายน้ำมัน มีกระบอกลูกสูบ มีหัวเทียนเพื่อการจุดระเบิด การบำรุงรักษา เลื่อยยนต์ นั้น จึงต้องมีการคอยเช็คและตรวจสอบก่อนและหลังการใช้งานเสมอ แต่บางท่านอาจไม่มีความรู้ในการดูแลอุปกรณ์ เลื่อยยนต์ มากนักจึงอาจทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการสตาร์ทไม่ติด เครื่องยนต์เดินไม่ดี หรือปัญหาจิปาถะอีกมากมายมาคอยกวนใจ เราจึงขอยกหัวเรื่องปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นของ เลื่อยยนต์ มาให้ทุกท่านเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยตนเองได้
1. ปัญหาการสตาร์ทยาก
ปัญหานี้อาจเกิดได้จากตัวหัวเทียน หรือ การจ่ายน้ำมันหรืออากาศที่ไม่เสถียร
สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้โดย ล้างทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์แล้วปรับจูนรอบน้ำมันกับอากาศใหม่
2. ปัญหาการเร่งเครื่องแล้วเครื่องดับ
ปัญหานี้อาจเกิดจากการจ่ายน้ำมันหรืออากาศที่ไม่เสถียร หรืออาจเกิดจากคอยล์ไฟ ที่จ่ายไฟมาให้หัวเทียนเกิดความไม่เสถียร
สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้โดย ล้างทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์แล้วปรับจูนอากาศน้ำมันใหม่ แต่ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนซีลข้อเหวี่ยงทั้ง2ข้างหาย
3. ปัญหาเลื่อยยนต์เหมือนไม่ีมีกำลัง
ปัญหานี้อาจเกิดจาก แหวนลูกสูบภายในเสื้อสูบหลวม
สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้โดย อาจจะต้องเปลี่ยนลูกสูบและแหวนหรือถ้าอาการหนักก็ต้องเปลี่ยนยกชุด แต่ต้องสังเกตูดูซีลข้อเหวี่ยงด้วยว่ารั่วหรือเปล่า เปลี่ยนแล้ารับรองว่าเครื่องกลับมาแรงอย่างแน่นอน
4. ปัญหาน้ำมันท่วมหัวเทียน
ปัญหานี้อาจเกิดจาก การที่เครื่องอาจจะเย็นแล้วทำการดึงเชือกสาร์ทซ้ำพร้อมกับการเปิดคันเร่งหลายๆครั้ง
สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้โดย 2 วิธีดังนี้
วิธีที่ 1 น้ำมันท่วมในระดับปกติ
-ถอดหัวเทียนออกมาเช็ดให้แห้ง
-ดึงเชือกสตาร์ทประมาณ 20-30ครั้ง เพื่อให้ไอน้ำมันเก่าออกจากเสื้อสูบ
-ใส่หัวเทียนเข้าไปใหม่ สตาร์ทอีกที อย่าลืมเปิดสวิทซ์โดยไม่ต้องเปิดโช้ค
วิธีที่ 2 น้ำมันท่วมชนิดรุนแรงเข้าห้องเครื่องเยอะ
-เปิดกรองอากาศ ถอดหัวเทียนออก
-ถอดท่อไอเสียออก
-อัดลมเข้าเสื้อสูบ(รูหัวเทียน)พร้อมดึงเชือก20ครั้ง
-เอาท่อไอเสียไปตากแดดไว้ ให้น้ำมันแห้ง
-ใส่หัวเทียนลงไป สตาร์ทเครื่องโดยที่ไม่ต้องใส่ท่อไอเสีย
-ทิ้งไว้สักครู่แล้วประกอบเข้าไปใหม่
จากบทความข้างต้นที่กล่าวไปนั้นเป็นวิธีง่ายๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่บางปัญหาก็อาจเกิดจากการที่เลือกใช้เลื่อยยนต์ที่ไม่มีคุณภาพมาใช้งาน
อ้างอิงจาก : realmartonline.com