คำอธิบาย
ปั๊มน้ำหอยโข่ง VENZ รุ่น VB 300 ปั๊มน้ำหอยโข่ง แบบ 2 ใบพัด มีแรงส่งน้ำสูง เหมาะกับงานส่งน้ำขึ้นอาคาร งานส่งน้ำระยะทางไกลๆ งานสปริงเกิ้ล งานจ่ายน้ำอเนกประสงค์ทั่วไป
คุณสมบัติ
- ขนาดท่อ 2 นิ้ว
- มอเตอร์ 3.0 แรงม้า
- อัตราส่งน้ำ 65-35 เมตร
- อัตราน้ำไหล 20-150 ลิตร/นาที
- มีทั้งแบบไฟ 2 สาย 1 เฟส 220V และไฟ 3 สาย 3 เฟส 380V
การติดตั้งปั๊มน้ำ
- ต่อเช็ควาล์ว (หรือฟุตวาล์ว) ไว้ที่ปลายท่อดูดและให้อยู่สูงจากพื้นน้ำ 25 ซม.
- ระยะจากระดับผิวน้ำจนถึงท่อดูดของปั๊มไม่ควรเกินกว่า 7 เมตร
- ระดับท่อดูดควรเป็นระดับเดียวกันหรือเป็นแนวที่ต่ำกว่าท่อดูดของปั๊ม
- ควรมีการตรวจสอบรอบรั่วหลังจากติดตั้งแล้วเสร็จ
คู่มือการใช้ปั๊มหอยโข่ง
- มอเตอร์ปั๊มจะต้องติดตั้งให้ได้ระดับและควรอยู่ใกล้ดับแหล่งน้ำ
- มอเตอร์ปั๊มควรติดตั้งให้ห่างจากผนังด้านข้าง หรือด้านหลังอย่างน้อย 10 ซม.เพื่อบำรุงรักษา และเพื่อการถ่ายเทอากาศที่ดี
- เลือกใช้ท่อดูดและท่อจ่ายให้ถูกขนาด รวมถึงต้องซีลท่อและขันข้อต่อให้แน่น
- ยึดขาตั้ง และฐานของมอเตอร์ปั๊มให้แน่นมั่นคง
- ตรวจสอบว่าท่อและข้อต่อท่อต่างๆติดตั้งอยู่ตำแหน่งที่ถูกต้องและแน่นหนา
วิธีใช้งาน
การล่อน้ำ ปั๊มดูดน้ำได้โดยที่ความดันในห้องปั๊มจะต้องต่ำกว่าความดันของบรรยากาศโดยจะใช้วิธีดังนี้
- ถอดปลั๊กอุด A และปลั๊กอุด B ออกแล้วเติมน้ำเข้าสู่ห้องปั๊มทางปลั๊กอุด A
- เติมน้ำจนเข้าไปเต็มในห้องปั๊ม อากาศจะถูกไล่ออกมาทางปลั๊กอุด B จนหมด(สังเกตจากน้ำจะไหลออกมาทางปลั๊กอุด B)
- ขันปิดปลั๊กอุด B ให้แน่น
- เติมน้ำต่อไปจนล้นออกทางปลั๊กอุด A รอจนแน่ใจว่าอากาศถูกไล่ออกจากห้องปั๊มจนหมด
- ขันปลั๊กอุด A ให้แน่น ปั๊มน้ำจะพร้อมสำหรับการทำงาน
คำแนะนำ
- ไม่ควรปล่อยให้ปั๊มทำงานโดยปราศจากน้ำเป็นเวลานาน
- ควรระมัดระวังเศษขยะหรือกรวดทรายที่มากับน้ำเข้าไปขัดใบพัด อาจทำให้ใบพัดหมุนไม่ได้และทุ่นเผาในที่สุด
- การติดตั้งท่อควรระวังอย่าให้มีสิ่งสกปรก เศษวัสดุ เศษท่อพี.วี.ซี.(ท่อพี.วี.ซี.ควรตัดด้วยกรรไกรตัดท่อพี.วี.ซี. ซึ่งให้รอยตัดที่เรียบ ไม่มีเศษพลาสติก) เศษเกลียวท่อ เทปพันเกลียว เข้าไปในท่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดขัดใบพัดปั๊ม ติดขัดที่ลูกลอยหรือวาล์ว ต่างๆในระบบน้ำ
- ควรติดตั้งปั๊มบนฐานรอง ให้ปั๊มสูงจากพื้นเล็กน้อย น้ำไม่ท่วมขัง ปั๊มจะทนมากขึ้น ไม่เป็นสนิม และปลอดภัย ลดโอกาสไฟฟ้ารั่ว
- ติดตั้งปั๊มห่างจากผนังอย่างน้อย 10 เซนติเมตร ประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปั๊มจะได้ไม่ร้อนมากขณะทำงาน ช่วยให้ปั๊มทนขึ้นอีก แล้วทั่วไปปั๊มจะมีใบพัดระบายความร้อนอยู่ด้านท้ายของปั๊ม ทำหน้าที่หมุนดูดอากาศผ่านด้านข้างตัวปั๊มเพื่อระบายความร้อน ควรติดตั้งในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรคอยตรวจดูอย่าให้มีใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก ติด ขวางทางระบายความร้อนของปั๊ม
- การติดตั้งท่อน้ำกับตัวปั๊ม ควรติดตั้งให้ได้ระดับ และได้แนวพอดีกับแนวเกลียวหรือข้อต่อของปั๊ม อย่าให้งัด งอ หรือไม่ได้แนว ซึ่งอาจทำให้ ท่อแตกร้าว หรือตัวปั๊มแตกร้าว หรือเกิดรอยรั่วได้ง่าย เนื่องจากขณะที่ปั๊มน้ำทำงานจะมีการสั่นเล็กน้อย ถ้าติดตั้งท่อไม่ดี อาจทำให้ส่วนที่งัดเสียหายได้ง่าย
- ต้องพิจารณาที่จะติดตั้งให้เหมาะสม เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และทนทานควรติดตั้งปั๊มในที่ร่ม กันแดด กันฝน อาจทำหลังคา หรือกล่องใหญ่ๆคลุม แบบบ้านหมาก็ได้ ต้องให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และยกออกได้ ตรวจซ่อมปั๊มได้ง่าย แม้ว่าปั๊มส่วนใหญ่จะออกแบบมาให้ติดตั้งภายนอกได้ แต่ปั๊มที่อยู่ในที่ร่มจะทนกว่ามาก และปลอดภัยกว่ามากด้วย โดยเฉพาะปั๊มที่มีกล่องควบคุมแบบอิเลคทรอนิกส์ติดที่ตัวปั๊ม
ท่อดูดและท่อจ่ายน้ำของปั๊ม ไม่ควรเล็กกว่าขนาดของจุดต่อท่อของปั๊ม การใช้ท่อเล็กจะทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มไม่ดี ไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าที่ระบุในสเปค - ไม่ควรต่อปั๊มดุดน้ำโดยตรงจากท่อประปา เนื่องจากจะทำให้ดูดสิ่งสกปรกในท่อประปาเข้ามาโดยตรง ถ้าท่อประปารั่วก็จะดูดน้ำสกปรกหรืออากาศเข้ามา และผิดระเบียบการใช้น้ำของการประปา ควรต่อท่อประปาเข้าถังเก็บน้ำแล้วใช้ปั๊มดูดน้ำจากถังเก็บจ่ายเข้าบ้าน
- การต่อสายไฟฟ้าเข้ากับปั๊มเลือกขนาดสายที่สามารถรับกระแสไฟฟ้าที่ปั๊มใช้ได้เพียงพอ ถ้าใช้สายเล็กจะทำให้สายร้อนและละลายได้
- ควรติดตั้งสายไฟที่จุดต่อสายไฟในตัวปั๊ม ไม่ควรใช้การเสียบปลั๊ก หรือตัดปลายปลั๊กแล้วต่อสาย สายไฟไม่ควรมีจุดตัดต่อที่กลางสาย
- ควรมีชุดเบรกเกอร์ควบคุมปั๊มต่างหาก 1ชุด เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการซ่อม
- ควรทำงานติดตั้งด้วยความละเอียด เรียบร้อย โดยใช้ช่างที่มีความรู้โดยตรง หรือศึกษาข้อมูลก่อนทำงานติดตั้ง การติดตั้งต่อท่อน้ำ ต่อไฟให้ปั๊มน้ำทำงานนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่การติดตั้งให้ดี ปลอดภัย เรียบร้อย ต้องใช้ความรู้และความชำนาญพอสมควร
- การติดตั้ง – ซ่อม ในส่วนที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ควรทำโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญโดยตรง และตัดไฟฟ้าก่อนทำการซ่อม-ติดตั้ง
ข้อควรระวัง
- การยกหรือการเคลื่อนที่ปั๊ม ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง อย่าเหนี่ยวรั้งสายไฟของปั๊ม
- ศึกษาข้อจำกัดการใช้งานโดยละเอียด
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้สูบของเหลวที่ไม่ใช่น้ำ เช่น น้ำมัน หรือสารเคมีอื่นๆ หรือใช้งานในสภาวะที่อาจเกิดอันตรายได้
- ไฟฟ้าที่จ่ายเข้าตัวปั๊มจะต้องเป็นระบบเดียวกัน ควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟ และต่อสายดินทุกครั้ง
- เลือกใช้ท่อเหล็ก หรือท่อพลาสติกที่ทนแรงดันได้ เพื่อป้องกันการเสียหายอันเกิดจากแรงสุญญากาศระดูด
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ท่ออ่อนหรือสายยางสำหรับดูด หรือท่อจ่ายเพื่อป้องกันท่อตีบและบิดงอ
- ไม่ควรใช้งานเกินประสิทธิภาพของปั๊ม
- ควรระวังไม่ให้ปั๊มโดนน้ำหรือฝนสาด
- การต่อท่อต้องซีลให้สนิทไม่ให้มีลมรั่วในท่อดูด เพราะจะมีผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของปั๊ม
- ท่อดูดจะต้องไม่สูงกว่าระดับของตัวปั๊ม
- ท่อดูดจะต้องใส่ฟุตวาล์ว และอาจจะใส่ตัวกรองน้ำร่วมด้วย
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์