เพื่อนเกษตร ปากช่อง ยินดีต้อนรับ       ปากช่อง

Popup Example
Offcanvas Example
เมนู
×
หน้าแรก เพื่อนเกษตร ไอเดีย เพื่อนการ์ด เพื่อน เอ็กเพรส ศูนย์บริการ บริการของเรา ร่วมงานกับเรา เกี่ยวกับเรา
หมวดหมู่สินค้า

สั่งซื้อสินค้ากรุณาทัก Line

Document

การดูแลรักษาเครื่องปั๊มลม

การดูแลรักษาปั๊มลม

การดูแลรักษาปั๊มลม

การดูแลรักษาปั๊มลม เครื่องปั๊มลมนั้นเป็นตัวทำหน้าที่ในการอัดลมให้มีแรงดันสูงตามที่ผู้ใช้ต้องการรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปล้วนต้องการบำรุงรักษาให้คงสภาพการใช้งานที่ดีต่อเนื่อง เพราด้วยตัวเครื่องสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบปั๊มลมหรือ เครื่องอัดลม ปั๊มอัดอากาศมีหน้าที่ในการสูบอัดอากาศจากภายนอกเข้ามายังภายในตัวถังเก็บลมตัวปั๊มอัดอากาศจะประกอบไปด้วยส่วนของชุดสกรูและเสื้อสูบที่มีครีบในการระบายความร้อนที่จะช่วยในการลดการเสียดสีและแรงเสียดทานของชุดสกรูรวมไปถึงความร้อนที่โดยแรงลมอัดเข้าไปด้วย มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังที่ใช้ในการผลิตลม อันดับแรกในการซื้อเราต้องตรวจสอบตั้งแต่ภายนอก

  1. สายพาน
    สายพานถ้ามีการแตกร้าว  เราควรเปลี่ยนสายพานใหม่ทันทีครับ  และสายพานต้องมีความการยืดหยุ่น ประมาณ1/2 นิ้ว
  2. น้ำมันเครื่อง
    น้ำมันเครื่องจะใช้น้ำมันเครื่องเบอร์ SAE 40 นะครับ เราจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 6 เดือน หรือทุกๆ 1,000 ชั่วโมง  และเราจะต้องดูระดับน้ำมันเครื่องจากด้านล่างของลูกสูบ  จะต้องอยู่ระดับกลางช่อง ไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไปครับ
  3. กรองอากาศ
    ควรนำออกมาเป่าทำความสะอาดทุก 2 เดือน หรือเปลี่ยนทุกๆ 6 เดือน
  4. มอเตอร์และจุดต่อสายไฟ
    อย่าให้มอเตอร์โดนน้ำและความชื้น ส่วนจุดต่อสายไฟต่างๆต้องตรวจดูว่ายึดติดแน่นหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดการ spark ในระหว่างที่มอเตอร์ทำงาน
  5. ถังเก็บลม
    ถังเก็บลม อย่าปล่อยให้มีน้ำขังอยู่ในถังเราควรถ่ายน้ำออกจากถังทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดสนิมภายในถังครับและป้องกันไม่ให้มีละอองน้ำออกมาในขณะใช้ลม และเพื่อระบายความร้อนควรวางปั๊มลมให้ห่างจากกำแพงประมาณ 30 ซ.ม

ครับวิธีการดูแลปั้มลมง่ายๆแบบนี้ เพื่อนๆก็สามารถทำไปใช้ดูนะครับ  เพื่อที่จะได้ยืดอายุการใช้งานของปั้มลมให้ยาวนานขึ้น

“การดูแลรักษาเครื่องปั๊มลม”

PUEANKASET

น้ำมันหล่อลื่นเครื่องปั๊มลม

การดูแลรักษาปั๊มลม

การดูแลรักษาปั๊มลม สำหรับน้ำมันหล่อลื่นทำหน้าที่เป็นฟิล์มหล่อลื่นที่แข็งแรง สามารถแยกผิวสัมผัสของโลหะออกจากกัน และลดการสึกหรอ ได้ นอกจากนั้นยังจะต้องไม่ทำให้เกิดการกัดกร่อนเกิดสนิมในกระบอกสูบ เป็นตัวช่วยป้องกันซีล และช่วยระบายความร้อนไม่เกิดการรวมตัวกับอากาศได้ง่าย และรวดเร็ว เพราะการรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศจะทำให้ลดอายุการใช้งานของน้ำมัน และเกิดตะกรันของน้ำมันได้ง่ายขึ้น

1. ควรใช้น้ำมันเครื่องของปั๊มลมเท่านั้น
2. และท่านสามารถใช้น้ำมันชนิด RPM Compressor Oil-100 หรือ ISO Grade 100 ซึ่งเป็น้ำมันเหมาะสมกับเครื่องปั๊มลมชนิดลูกสูบ
3. ประมาณของน้ำมันควรจะรักษาอยู่ในระดับจุดแดงของตาดูน้ำมัน ถ้าน้ำมันมากเกินไป จะทำให้มีคาร์บอนที่หัวลูกสูบสูง น้ำมันน้อยเกินไปจะทำให้หัวลูกสูบสึก และเกิดความเสียหายกับชาร์ป
4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันสำหรับเครื่องอัดลมควรจะอยู่ระหว่าง 300 ถึง 500 ชั่วโมง เมื่อสีของน้ำมันเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือ สกปรก แต่ถ้าตรวจพบว่าที่ห้องเครื่องมีคราบน้ำมันสกปรกหรือเป็นลักษณะโคลนน้ำมัน ควรจะใช้น้ำมันสำหรับล้างเครื่อง (flushing oil) ล้างทำความสะอาด ไม่ควรใช้นน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน หรือน้ำมัน ดีเซลล้างเครื่องโดยเด็ดขาด

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องอัดลม

1. ควรหยุดเครื่อง และ ปิดสวิทซ์ ไม่ควรเปลี่ยนน้ำมันปั๊มลมขณะเดินเครื่อง
2. หาที่รอง หรือว่าถัง มารองน้ำมันที่ใช้แล้ว
3. ถอดน๊อดที่อยู่ด้านหน้าของหัวปั๊มออก
4. รอจนน้ำมันในเสื้อสูปหมดแล้วไขน๊อตกลับ แล้วเติมน้ำมันใหม่ลงไปให้พอดีกับจุดแดงที่ตาดูน้ำมัน
5. อย่าเปลี่ยนน้ำมันขณะที่เดินเครื่อง
6. ไม่ควรใช้น้ำมันที่ไม่ได้แนะนำ
การดูแลรักษาปั๊มลม

ข้อปฏิบัติก่อนที่จะเดินเครื่อง

1. กรุณาเช็คข้อต่อ และน๊อตต่าง ๆ ว่า สิ่งใดหลวมหรือว่าหายหรือไม่
2. ตรวจว่าสายพานติดตั้งถูกต้องหรือไม่ ไม่หลวม หรือตึงเกินไป
3. น้ำมันอยู่ในระดับที่ถูกต้องหรือไม
4. สายไฟถูกติดตั้งถูกต้องหรือไม่
5. ดูที่ด้านล่าง ว่ามั่นคงหรือไม่
6. ตรวจล้อ ว่าสามารถหมุนได้หรือไม่ก่อนที่จะเริ่มเดินเครื่อง

ตรวจดูว่าการหมุนของสายพานหมุนตามทิศทางของลูกศรหรือไม่ ในกรณีที่มอเตอร์หมุนผิดทาง

  • สำหรับปั๊มลม 1 HP ให้สลับสายไฟตรงมอเตอร์
  • สำหรรับปั๊มลม 2 HP-30 HP ให้เลือกสลับสายไฟ 2 ใน 3 ที่ต่อกับ เบรกเกอร์แล้ว เครื่องจะหมุนถูกต้อง หรือ ให้สลับสายไฟตรงมอเตอร์
  • เมื่อสิ้นสุดในแต่ละวันควรหมุนน๊อตใต้แทงค์ เพื่อระบายน้ำในถังและสิ่งสกปรกออก ซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิดสนิมในถัง
  • เมื่อความร้อนเกิดขึ้นกับหัวลูกสูบ และ ท่อทองแดง โดยปรกติอุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็นเรื่องปรกติ ไม่มีสิ่งผิดปรกติแต่อย่างใด

 

อ้างอิงจาก : ปั๊มลมราคาถูก.com

บทความที่คล้ายกัน