เพื่อนเกษตร ปากช่อง ยินดีต้อนรับ       ปากช่อง

Popup Example
Offcanvas Example
เมนู
×
หน้าแรก เพื่อนเกษตร ไอเดีย เพื่อนการ์ด เพื่อน เอ็กเพรส ศูนย์บริการ บริการของเรา ร่วมงานกับเรา เกี่ยวกับเรา
หมวดหมู่สินค้า

สั่งซื้อสินค้ากรุณาทัก Line

Document

ระบบน้ำสำหรับโรงเรือน

ระบบน้ำโรงเรือน

มาดูการวาง ระบบน้ำโรงเรือน กันเลย!!

ระบบน้ำโรงเรือน วันนี้ทางร้านเพื่อนปากช่อง จะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับการวางระบบน้ำภายในโรงเรือนกัน ว่าในแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร การประมาณจากขนาดของโรงเรือนขนาด 4×8 เมตร โดยแยกประเภทของการวางระบบน้ำ เป็น 4 แบบ ระบบหัวพ่นหมอก ระบบมินิสปิงเกลอร์ ระบบหัวน้ำหยด ระบบเทปน้ำหยด เราไปดูกันเลยค่ะ ว่าแตกต่างกันอย่างไร ข้อดีและข้อเสีย ความเหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร


“ระบบน้ำสำหรับโรงเรือน”

PUEANKASET

ระบบน้ำโรงเรือน

การปลูกพืชในโรงเรือน

การปลูกพืชในโรงเรือน เป็นการปลูกพืชแบบระบบปิด ข้อดีของการปลูกพืชในโรงเรือน คือ การลดการใช้สารเคมีสำหรับการกำจัดโรคและแมลง สามารถควบคลุมคุณภาพการผลิตได้ และช่วยให้การบริหารจัดการน้ำได้อย่างคุ้มค่า พืชที่นิยมปลูกกันในโรงเรือน ได้แก่ มะเขือเทศ เมล่อน แตงกวาญี่ปุ่น บัตเตอร์นัท เคล และผักสลัดต่างๆ หรือพืชที่ให้ราคาผลผลิตสูง

ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้ง่ายขึ้น โดยมีการนำอุปกรณ์เซนเซอร์ในการวัดค่าต่างๆ เข้ามาช่วยในการบริกหารจัดการน้ำและช่วยเพิ่มผลผลิต เช่น อุปกรณ์วัดอุณภูมิภายในโรงเรือน อุปกรณ์วัดความชื้น PH และปริมาณปุ๋ยของดิน เป็นต้น นอกจากระบบเซ็นเซอร์แล้วยังได้มีการนำเทคโนโลยี IOT หรือ อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในทางการเกษตรทำให้เกษตรกรสามารถควบคลุมการทำงานของระบบน้ำได้จากระยะไกล นอกจากนี้ยังช่วยเกษตรเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นต่อการผลิตพืชไม่ว่าสภาพอากาศ สภาพดิน ปริมาณแหล่งน้ำและปริมาณปุ๋ย ผ่านทางระบบเซนเซอร์ที่ส่งข้อมูลมาทางอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยให้เกษตรกรวางแผนการผลิตได้ง่ายขึ้น ในส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในระบบอัตโนมัติ ได้มีการนำพลังงานทางเลือกอย่างโซล่าเซลล์เข้ามาใช้ในการทำงานของระบบน้ำ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าของระบบน้ำอีกด้วย

ระบบน้ำโรงเรือน

พ่นหมอก ( Micro Spray )

การลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเพาะปลูกนี้ ใช้การพ่นหมอกละอองน้ำด้วยปริมาณที่เหมาะสม ระบบควบคุมเป็นแบบอิเล็คทรอนิกส์ใช้เซนเซอร์ตรวจวัดค่าอุณหภูมิและความชื้นอากาศในโรงเรือน และใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นช่วยในการคำนวณค่าทางเทอร์โมไดนามิกส์ของอากาศ และการทำสมดุลมวลหาปริมาณน้ำที่ต้องใช้อย่างแม่นยำเพื่อสั่งงานให้ปั๊มและหัวพ่นหมอกพ่นละอองน้ำให้กับอากาศได้อย่างพอดี ร่วมกับการเปิดปิดพัดลมระบายอากาศอย่างเหมาะสม ทำให้ประหยัดน้ำและไฟฟ้าสูงกว่าระบบลดอุณหภูมิแบบแผงระเหยน้ำและระบบควบคุมสำหรับการพ่นหมอกในปัจจุบัน ซึ่งนวัตกรรมการนี้สามารถติตตั้งได้ง่ายกับโรงเรือนที่มีอยู่แล้วทุกขนาด

โรงเรือนขนาด 4x8 เมตร

มินิสปริงเกลอร์ ( Mini Sprinkler )

เป็นระบบที่ใช้แรงดัน 10 – 20 เมตร และมีอัตราการไหลของหัวปล่อยน้ำ 20 – 300 ลิตร ต่อชั่วโมง ระบบนี้เหมาะกับสภาพแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำจำกัด คุณภาพน้ำค่อนข้างดี รูปล่อยน้ำมีขนาดเล็ก ต้องการระบบการกรองที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัน ผู้ใช้ต้องมีความละเอียดในการตรวจสอบและล้างกรองอย่างสม่ำเสมอทุกวัน แรงดันที่ต้องใช้ในระบบปานกลาง การลงทุนด้านเครื่องสูบน้ำ และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานน้อยกว่าระบบสปริงเกลอร์

โรงเรือนขนาด 4x8 เมตร

น้ำหยด ( Drip )

ระบบน้ำหยด เหมาะกับสภาพแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำจำกัด คุณภาพน้ำดี รูปล่อยน้ำมีขนาดเล็กมาก ต้องการระบบการกรองที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัน แรงดันที่ต้องใช้ในระบบค่อนข้างต่ำ ทำให้การลงทุนด้านเครื่องสูบน้ำ และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานน้อยที่สุด เป็นระบบที่ใช้แรงดัน 5 – 10 เมตร และอัตราการไหลของหัวปล่อยน้ำ 2 – 8 ลิตร ต่อชั่วโมง ปล่อยน้ำจากหัวปล่อยน้ำสู่ดินโดยตรง แล้วซึมผ่านดินไปในบริเวณเขตรากพืชด้วยแรงดูดซับของดิน

โรงเรือนขนาด 4x8 เมตร

ข้อดีของการทำโรงเรือน

  • ควบคุมคุณภาพของพืชได้อย่างดีมาก กำหนดวันเวลาในการเก็บผลผลิต
  • ป้องกันแมลงและโรคที่จะมาทำลายพืชได้อย่างดีเยี่ยม
  • ไม่ต้องใช้ยา หรือสารเคมีกำจัดแมลง
  • ลดค่าแรงกำจัดวัชพืช
  • ดูแลทั่วถึงเพราะโรงเรือนจะเล็ก และเหมาะกับการทำงานง่าย
  • ป้องกันโรคราน้ำค้าง หรือฝน ที่จะทำอันตรายกับพืช
  • ปลูกพืชได้ต่อเนื่อง
  • ทำให้มีรายได้ที่แน่นอน เนื่องจากผลผลิตที่ทำออกมาแน่นอน มีตลาดรองรับอย่างดี
  • อายุการใช้โรงเรือน ยาวนาน

ข้อที่จะต้องพิจารณา

  • ราคาในการทำโรงเรือนสูง
  • ควรมีแผนการซ่อมบำรุง
  • การเคลื่อนย้ายยากหน่อย
  • ระยะคืนทุนช้า หากเลือกพืชที่จะมาปลูกไม่เหมาะกับความต้องการของตลาด
  • โรงเรือนมีหลายแบบ
  • ความหนาหลังคา ส่งผลต่อชนิดของพืช

 

ขอบคุณที่มาจาก :  www.palangkaset.com

บทความที่คล้ายกัน